วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาสถานที่และสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดกิจกรรม/โครงการ
ลักษณะโครงการ ( / ) ต่อเนื่อง ( ) ใหม่
มาตรฐาน [ ] ด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
มาตรฐาน [ ] ด้านการเรียนการสอน มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
มาตรฐาน [ / ] ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 16 ตัวบ่งชี้ที่.16.1-16.5
มาตรฐาน [ / ] ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 17,18 ตัวบ่งชี้ที่ 17.1-17.2,
18.1-18.2
สนองกลยุทธ์กระทรวง ข้อที่................................ สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 5,6
สนองกลยุทธ์ สพท. สท.2 ข้อที่ 5,6 สนองกลยุทธ์โรงเรียน ข้อที่ 5,6

ที่มา ความสำคัญ หลักการและเหตุผล
สภาพภูมิทัศน์ ทัศนียภาพทั้งภายนอกและภายในรั้วชมพู-ขาวโรงเรียนเมืองเชลียงมีพื้นที่กว้าง มีการจัดวางผังบริเวณพื้นที่ตามโครงสร้างแผนผังอาคารไว้เป็นสัดส่วนที่ดี รอบขอบทางมีต้นไม้ปลูกประดับ มีการปลูกตกแต่งสวนหย่อมแบ่งกั้นอาคาร เพื่อการพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนให้สวยงามและร่มรื่นยิ่งขึ้น เพราะโรงเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน มีสวนหย่อม ต้นไม้ แหล่งเรียนรู้ อุทยานการศึกษาอยู่หลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งเรียนรู้ในคาบกิจกรรมแนะแนวได้เป็นอย่างดียิ่ง ให้บริการชุมชนมาใช้สถานที่เป็นที่ออกกำลังกาย เล่นกีฬา จัดงานวันสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนจึงมีความสำคัญมาก เป็นการโน้มน้าวจิตใจของนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนให้รักโรงเรียน
การพัฒนาให้โรงเรียนน่าอยู่ เป็นที่รู้จักของชุมชนและบริการครู นักเรียน และชุมชนมากยิ่งขึ้น งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีการปรับปรุง ต่อเติม ซ่อมแซม และพัฒนาอาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อมให้มีความพร้อม ความสมบูรณ์ สะดวก ปลอดภัย รวมทั้งดูแล ติดตามในเรื่องสาธารณูปโภคให้ดี
มีประสิทธิภาพ ใช้ได้เป็นปัจจุบัน เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี คนมีความสุข มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม รักสวยรักงาม ครูมีสถานที่ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ เพียงพอ
โรงเรียนมีสถานที่ที่สวยงาม ร่มรื่น สะดวก เหมาะสำหรับบริการชุมชน และไว้ให้ทุกฝ่ายช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสืบต่อไป




วัตถุประสงค์
1.โรงเรียนมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ร่มรื่น เป็นแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนได้
2.โรงเรียนมีอาคาร สถานที่ในสภาพที่มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียน
3.โรงเรียนมีสถานที่พร้อมในด้านการบริการชุมชน
4. นักเรียนและ ครูมีส่วนร่วมในการพัฒนา ดูแลความสะอาดของอาคารสถานที่

เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
1.1 พื้นที่บริเวณสนามหญ้า สวนหย่อมภายในและ นอกบริเวณโรงเรียนและพื้นที่ทั่วโรงเรียนได้รับการดูแล รักษา ตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงาม
1.2 อาคารสถานที่ที่ใช้เป็นห้องเรียน ห้องกลุ่มงานต่างๆ อาคารประกอบในโรงเรียนอยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง สร้างห้องน้ำอาคาร1 และดูแลห้องน้ำอื่นๆเป็นส้วมสุขสันต์ คือ สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย (HAS)
2. ด้านคุณภาพ
2.1 บริเวณสถานที่และสิ่งแวดล้อมทั่วไปภายในและนอกบริเวณโรงเรียนอย่างน้อยร้อยละ 90มีการจัดระเบียบเป็นสัดส่วนของบริเวณพื้นที่ และอาคารมีความสะอาด ร่มรื่น สวยงามเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และบริการชุมชน
2.2 นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 90 มีเจตคติที่ดีด้านการอนุรักษ์ ดูแลความสะอาดอาคารสถานที่ร่วมกัน

วิธีดำเนินการ
กิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ กันยายน 2552 นายจำเริญ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการ/ประชุมวางแผน กันยายน 2552 สุวรรณประสิทธิ์
3. ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กันยายน 2552 และคณะกรรมการ
4. ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ต.ค.52-ก.ย.53 2,550,000 บาท อาคารสถานที่
5. ประเมินผล สรุป รายงานต่อผู้เกี่ยวข้อง มี.ค.53, ก.ย.53





ทรัพยากรที่ใช้ จำนวน 2,550,000 บาท
- ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ ค่าสี ค่าแรงงาน 200,000 บาท
- ซ่อมแซมครุภัณฑ์ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน สวนหย่อม ฯลฯ 200,000 บาท
- จัดทำโต๊ะม้านั่งกลางแจ้งแบบโครงเหล็กพื้นไม้หลังคาโค้ง Metal Sheet 15หลัง 200,000 บาท
- ติดตั้งพัดลมไอน้ำที่อาคาร 4 ชั้นล่าง 250,000 บาท
- จัดทำร่องระบายน้ำคอนกรีตข้างถนนหน้าอาคาร 1 ยาว 80 เมตร 50,000 บาท
- ปรับปรุงร้านจำหน่ายอาหารที่โรงอาหาร 200,000 บาท
- ทำรั้วลวดหนาม เสาคอนกรีตบริเวณรอบสระน้ำหลังอาคาร 3 100,000 บาท
- จัดทำ วางท่อสำหรับปลูกดอกไม้ตลอดแนวรั้วหน้าโรงเรียน 100,000 บาท
- ซ่อม บำรุง ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ประปา 100,000 บาท
- จัดซื้อรถไถนาเพื่อใช้ในการเรียนวิชาเกษตรกรรมและตัดหญ้าสนามกีฬาฯลฯ 250,000 บาท
- ติดตั้งไฟฟ้าสปอร์ตไลท์ สนามฟุตบอล 50,000 บาท
- จัดทำส้วมสุขสันต์อาคาร 1 ค่าวัสดุ ครุภัณฑ์ แรงงาน 850,000 บาท

งบประมาณ
รายการ เงินอุดหนุน เงินงบประมาณ เงินอื่น ๆ รวมเป็นเงิน
ค่าวัสดุ 900,000 900,000
ค่าใช้สอย 750,000 750,000
ค่าครุภัณฑ์ 900,000 900,000
รวมเป็นเงิน 2,550,000 2,550,000


ผู้รับผิดชอบโครงการ / ผู้เกี่ยวข้อง
บทบาท / หน้าที่ รายละเอียดบทบาท ชื่อผู้เกี่ยวข้อง
อำนวยการโครงการ 1. อำนวยความสะดวกในการเสนอโครงการ
2. ให้ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการปฏิบัติงาน
3. ช่วยแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหา - ผู้อำนวยการโรงเรียน
- รองผู้อำนวยการโรงเรียน
- หัวหน้ากลุ่มบริหาร 5 กลุ่ม
-หัวหน้ากลุ่มสาระฯทุกกลุ่มสาระ




บทบาท / หน้าที่ รายละเอียดบทบาท ชื่อผู้เกี่ยวข้อง
ผู้ดำเนินกิจกรรม 1. ประชุม/วางแผนจัดกิจกรรมการปฏิบัติงาน กำหนดขอบข่ายงาน
2. ชี้แจงให้คณะกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับมอบหมายงานทราบ
3. จัดทำแผนการปฏิบัติงาน
4. ดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงาน
5. ประเมินผล สรุป รายงานผลการปฏิบัติงาน - นายจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์
- คณะกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่
- ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
ผู้เข้าร่วมโครงการ 1. ปฏิบัติงานตามขอบข่ายงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ลุล่วงด้วยดีและมีประสิทธิภาพ
2. สรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน - นายวสันต์ งามดี
- นายสุรวิทย์ รังสิวุฒาภรณ์
- นายปิยะ อุดมมงคล
- ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
ผู้เกี่ยวข้อง หน่วยงานทางราชการ เช่น เทศบาลตำบลหาดเสี้ยวให้ความร่วมมือรักษาความสะอาดในการเก็บขยะ - เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว

การติดตามประเมินผล
วิธีประเมินผล เครื่องมือประเมินผล เกณฑ์การประเมินผล ช่วงเวลาประเมินผล
- มอบหมายงานหน้าที่
รับผิดชอบ - สมุดบันทึกการทำงานที่มอบหมาย - ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวร้อยละ90 ขึ้นไปปฏิบัติงานตามหน้าที่รับผิดชอบ - ทุกวันที่มอบหมายงานหน้าที่รับผิดชอบ
- ประเมินผลการปฏิบัติงานตามจุดที่มอบหมาย - แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน - ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวร้อยละ 90 ปฏิบัติงานตามจุดที่ได้รับมอบหมายในระดับดีขึ้นไป - ทุกสัปดาห์
- สอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน - แบบสอบถามความพึงพอใจ - ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวร้อยละ 90 มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีขึ้นไป - ทุกเดือน


ประโยชน์ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สภาพแวดล้อมอาคารสถานที่ และสิ่งของ เครื่องใช้ด้านสาธารณูปโภคร้อยละ 90 มีความสะอาดเรียบร้อย สวยงาม และมีประสิทธิภาพต่อการใช้งาน
2. สภาพแวดล้อมอาคารสถานที่ ร้อยละ 90 สามารถบริการชุมชนได้
3. นักเรียนร้อยละ 90 ตระหนักถึงการช่วยกันอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อมอาคาร สถานที่ และมี
เจตคติที่ดีต่อโรงเรียน

โครงการอื่นที่สัมพันธ์กับโครงการนี้
1.โครงการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง
2. โครงการครูเวรประจำวันของกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน

ลงชื่อ...............................................ผู้เสนอโครงการ ลงชื่อ...............................................ผู้เห็นชอบ
(นายจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์) (นางราตรี สุวรรณประสิทธิ์)
หัวหน้าโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป

ลงชื่อ...............................................ผู้เสนออนุมัติ ( ) อนุมัติ ( ) ไม่อนุมัติ
(นางนิ่มนวล น้อยวงศ์) ( ) อื่น ๆ ...............................................
หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ ลงชื่อ............................................... (นายวิทยา ทองอยู่)
ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชลียง
………../……………../…………..

ลงชื่อ............................................... (นายเกตุ วงศ์จันทรมณี)
ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเมืองเชลียง
………../……………../…………..

โครงการพัฒนาสำนักงานบริหารทั่วไป

รายละเอียดกิจกรรม/โครงการ
ลักษณะกิจกรรม/โครงการ ( / ) ต่อเนื่อง ( ) ใหม่
มาตรฐาน [ ] ด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
มาตรฐาน [ ] ด้านการเรียนการสอน มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
มาตรฐาน [ / ] ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 12 ตัวบ่งชี้ที่ 12.1,12.2
มาตรฐาน [ ] ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
สนองกลยุทธ์กระทรวง ข้อที่................................ สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 4
สนองกลยุทธ์ สพท. สท.2 ข้อที่ 4 สนองกลยุทธ์โรงเรียน ข้อที่ 4

ที่มา ความสำคัญ หลักการและเหตุผล
ในปีงบประมาณ 2553 โรงเรียนเมืองเชลียงได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 5 กลุ่มงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เป็นระบบ บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของโรงเรียน ได้แก่ กลุ่มบริหารทั่วไป กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ และกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน
กลุ่มบริหารทั่วไป เป็นกลุ่มงานหนึ่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารสถานศึกษา มีหน้าที่จัดองค์กร การบริหาร จัดโครงสร้างการบริหาร กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและมาตรฐานการปฏิบัติงาน จัดครูและบุคลากรรับผิดชอบงานตามโครงสร้าง บริหารงานด้วยระบบการวางแผน (P) การนำไปสู่การปฏิบัติ (D)
การควบคุม กำกับ นิเทศ ติดตามและประเมินผล (C) และการปรับปรุงและพัฒนา (A) จำเป็นต้องพัฒนาองค์กรและระบบบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี คู่มือการบริหารสถานศึกษา
การบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ ติดตาม การปรับปรุงและพัฒนา ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศที่ครอบคลุมทุกกลุ่มงาน และข้อมูลสนับสนุนต่างๆ เช่น ข้อมูลองค์กรชุมชน แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯที่เป็นระบบ ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน สามารถเชื่อมโยงเข้าระบบเครือข่ายของหน่วยงานต้นสังกัดได้

วัตถุประสงค์
1 .เพื่อให้บุคลากรในห้องบริหารทั่วไปมีวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ใช้ในการปฏิบัติงานรวดเร็ว พอเพียง และมีประสิทธิภาพ ทำงานเป็นระบบ
2 . เพื่อให้บุคลากรงานสารบรรณและงานอื่นในห้องบริหารทั่วไปใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้อง รวดเร็ว ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน
3. เพื่อให้บุคลากรทุกฝ่ายได้ใช้บริการสืบค้นข้อมูล ติดต่องานสะดวก รวดเร็วด้วยความพึงพอใจ

เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
1.1 ห้องกลุ่มบริหารทั่วไปมีวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีใช้ในการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรร้อยละ 90 ขึ้นไป
1.2. บุคลากรในห้องบริหารทั่วไป ร้อยละ 90 ขึ้นไปใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้อง รวดเร็ว ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน
1.3 บุคลากรทุกฝ่ายร้อยละ 90 ขึ้นไปได้ใช้บริการสืบค้นข้อมูล ติดต่องานสะดวก รวดเร็วด้วยความพึงพอใจ
2 ด้านคุณภาพ
2.1 ห้องกลุ่มบริหารทั่วไปมีวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 บุคลากรในห้องบริหารทั่วไป สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้อง รวดเร็ว ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน
2.3 บุคลากรทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในใช้บริการสืบค้นข้อมูล ติดต่องานอยู่ในระดับดีขึ้นไป

วิธีดำเนินการ
กิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ กันยายน 2552 นางลำพูน กระแซง
2. ประชุม/วางแผนดำเนินโครงการ กันยายน 2552 และคณะกรรมการ
3. ดำเนินการตามโครงการ ต.ค.52-ก.ย. 53 130,000 บริหารทั่วไป
4. ประเมินผล สรุปงาน รายงานผู้เกี่ยวข้อง ตุลาคม 2553


ทรัพยากรที่ใช้
1. วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์สำนักงาน ตู้ใส่เอกสาร กล่องใส่เอกสาร และอื่นๆ 110,000 บาท
2. จัดซื้อ-จัดจ้าง ปรับปรุงสำนักงานบริหารทั่วไปตามความจำเป็น 20,000 บาท

งบประมาณ จำนวน 130,000 บาท
รายการ เงินอุดหนุน เงินงบประมาณ เงินอื่น ๆ รวมเป็นเงิน
ค่าวัสดุ 75,000 75,000
ค่าใช้สอย 20,000 20,000
ค่าครุภัณฑ์ 35,000 35,000
รวมเป็นเงิน 130,000 130,000

ผู้รับผิดชอบโครงการ / ผู้เกี่ยวข้อง
บทบาท / หน้าที่ รายละเอียดบทบาท ชื่อผู้เกี่ยวข้อง
อำนวยการโครงการ 1. อำนวยความสะดวกในการเสนอโครงการ
2. ให้ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการปฏิบัติงาน
3. ช่วยแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหา - ผู้อำนวยการโรงเรียน
- รองผู้อำนวยการโรงเรียน
- หัวหน้ากลุ่มบริหาร 5 กลุ่ม
-หัวหน้ากลุ่มสาระฯทุกกลุ่มสาระ

ผู้ดำเนินกิจกรรม 1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ประชุม/วางแผนดำเนินโครงการ
3. ดำเนินการตามโครงการ
4. ประเมินผล สรุปงาน รายงานผู้เกี่ยวข้อง - นางลำพูน กระแซง
และคณะกรรมการบริหารทั่วไป
ผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการประสานงาน ให้คำปรึกษา แนะนำ ร่วมใช้งานและร่วมดำเนินการจัดซื้อ-จัดจ้าง และติดต่องาน - กลุ่มบริหารงบประมาณ
- กลุ่มบริหารงานบุคคล
- กลุ่มบริหารวิชาการ
- กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน


หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. กลุ่มบริหารงบประมาณ
2. กลุ่มบริหารงานบุคคล
3. กลุ่มบริหารวิชาการ
4. กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน


การติดตามประเมินผล
วิธีประเมินผล เครื่องมือประเมินผล เกณฑ์การประเมินผล ช่วงเวลาประเมินผล
- สอบถามความคิดเห็น
การใช้ห้องบริหารทั่วไปและติดต่องาน - แบบสอบถามความคิดเห็น - แบบสอบถามความคิดเห็นอยู่ในระดับดีขึ้นไป - มีนาคม 2553 และ
กันยายน 2553
- สังเกตการใช้บริการงานบริหารทั่วไป - แบบสังเกต - แบบสังเกตอยู่ในระดับดีขึ้นไป - มีนาคม 2553 และ
กันยายน 2553


ประโยชน์ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ห้องกลุ่มบริหารทั่วไปมีวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2 . บุคลากรในห้องบริหารทั่วไป สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้อง รวดเร็ว ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน
3. บุคลากรทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในใช้บริการสืบค้นข้อมูล ติดต่องานอยู่ในระดับดีขึ้นไป

โครงการอื่นที่สัมพันธ์กับโครงการนี้
1......................................................................................................................................................

ลงชื่อ...............................................ผู้เสนอโครงการ ลงชื่อ...............................................ผู้เห็นชอบ
(นางลำพูน กระแซง) (นางราตรี สุวรรณประสิทธิ์)
หัวหน้าโครงการปรับปรุงสำนักงานบริหารทั่วไป หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป

ลงชื่อ...............................................ผู้เสนออนุมัติ ( ) อนุมัติ ( ) ไม่อนุมัติ
(นางนิ่มนวล น้อยวงศ์) ( ) อื่น ๆ ...............................................
หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ ลงชื่อ............................................... (นายวิทยา ทองอยู่)
ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชลียง
………../……………../…………..
ลงชื่อ............................................... (นายเกตุ วงศ์จันทรมณี)
ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเมืองเชลียง
………../……………../…………..
โครงการพัฒนางานประชาสัมพันธ์

รายละเอียดกิจกรรม/โครงการ
ลักษณะกิจกรรม/โครงการ ( / ) ต่อเนื่อง ( ) ใหม่
มาตรฐาน [ ] ด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
มาตรฐาน [ ] ด้านการเรียนการสอน มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
มาตรฐาน [ / ] ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 18 ตัวบ่งชี้ที่ 18.1,18.2
มาตรฐาน [ ] ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
สนองกลยุทธ์กระทรวง ข้อที่................................ สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 6
สนองกลยุทธ์ สพท. สท.2 ข้อที่ 6 สนองกลยุทธ์โรงเรียน ข้อที่ 6

ที่มา ความสำคัญ หลักการและเหตุผล
งานประชาสัมพันธ์ เป็นงานที่จัดอยู่ในกลุ่มบริหารทั่วไปตามโครงสร้างการบริหารของโรงเรียน
มีหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนให้ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้รับทราบ เช่น เผยแพร่ความก้าวหน้าในการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน กิจกรรมต่างๆที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้นตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนข่าวสารความเคลื่อนไหวของประเทศ ด้านการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ สาธารณสุขและอื่นๆที่จะส่งผลให้นักเรียนได้รู้ข่าวทันโลกปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
การประชาสัมพันธ์ทั้งนอกโรงเรียนและในโรงเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เอกสารแผ่นพับ วารสาร แจ้งข้อมูลทางเว็บไซด์ของโรงเรียน จัดรายการระบบเสียงตามสาย และวิทยุชุมชน เป็นการสร้างความเข้าใจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

วัตถุประสงค์
1 . เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียนแก่บุคลากรทั้งภายในและนอกโรงเรียน
2 . เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคลากรในองค์กรและชุมชนที่มีส่วนร่วม
3. เพื่ออบรมนักเรียนให้เป็นเยาวชนนักประชาสัมพันธ์

เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
1.1 นักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียงและบุคลากรในโรงเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป รับทราบข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศของโรงเรียน
1.2 ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร้อยละ 80 ขึ้นไป รับทราบข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศของโรงเรียน
1.3 นักเรียนจำนวน 20 คนได้เข้ารับการอบรมเป็นเยาวชนนักประชาสัมพันธ์
2 ด้านคุณภาพ
2.1 นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รับทราบข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศของโรงเรียนเป็นอย่างดี
2.2 ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนรับทราบข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศของโรงเรียนเป็นอย่างดี
2.3 นักเรียนที่มีความสามารถได้เข้ารับการอบรมเป็นเยาวชนนักประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ
วิธีดำเนินการ
กิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ กันยายน 2552 นางสาวระวีวรรณ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการ/ประชุมวางแผน กันยายน 2552 อินทรประพันธ์
3. ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ต.ค.52-มี.ค.53 56,800 และคณะกรรมการ
4. ประเมินผล สรุปผลรายงานผู้เกี่ยวข้อง มี.ค.53, ต.ค.53 งานประชาสัมพันธ์




ทรัพยากรที่ใช้ จำนวน 56,800 บาท
- ค่าวัสดุ ครุภัณฑ์ในการดำเนินงานห้องประชาสัมพันธ์ 10,000 บาท
- ค่าจัดทำเอกสาร แผ่นพับ และวารสาร 35,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการจัดรายการออกเสียงตามสาย 5,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการอบรมเยาวชนนักประชาสัมพันธ์ 6,800 บาท

งบประมาณ จำนวน 56,800 บาท
รายการ เงินอุดหนุน เงินงบประมาณ เงินอื่น ๆ รวมเป็นเงิน
ค่าวัสดุ 6,800 6,800
ค่าใช้สอย 40,000 40,000
ค่าครุภัณฑ์ 10,000 10,000
รวมเป็นเงิน 56,800 56,800



ผู้รับผิดชอบโครงการ / ผู้เกี่ยวข้อง
บทบาท / หน้าที่ รายละเอียดบทบาท ชื่อผู้เกี่ยวข้อง
อำนวยการโครงการ 1. อำนวยความสะดวกในการเสนอโครงการ
2. ให้ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการปฏิบัติงาน
3. ช่วยแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหา - ผู้อำนวยการโรงเรียน
- รองผู้อำนวยการโรงเรียน
- หัวหน้ากลุ่มบริหาร5 กลุ่ม
-หัวหน้ากลุ่มสาระฯทุกกลุ่มสาระ

ผู้ดำเนินกิจกรรม/โครงการ 1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ประชุม/วางแผนจัดผู้รับผิดชอบในขอบข่ายงานประชาสัมพันธ์
3. วางแผนการจัด ตกแต่งห้องประชาสัมพันธ์พร้อมอุปกรณ์
4. กำหนดวัน เวลาจัดทำเอกสาร
แผ่นพับ วารสารโรงเรียน
5. กำหนดวัน เวลา จัดรายการออกเสียงตามสาย และวิทยุชุมชน
6. กำหนดวัน เวลา จัดอบรมเยาวชน
นักประชาสัมพันธ์
7. ประเมินผล สรุปงาน รายงานผู้เกี่ยวข้อง - นางสาวระวีวรรณ อินทรประพันธ์ และคณะกรรมการงานประชาสัมพันธ์
ผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการประสานงาน ให้คำปรึกษา ให้ข้อมูล แนะนำ ร่วมใช้งานและร่วมดำเนินการ - กรรมการงานโสตทัศนศึกษา
- กรรมการศูนย์คอมพิวเตอร์
- กรรมการศูนย์สารสนเทศ
- หัวหน้ากลุ่มสาระฯทุกกลุ่มฯ


หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. งานโสตทัศนศึกษา/ศูนย์คอมพิวเตอร์/ศูนย์สารสนเทศโรงเรียน
2. อำเภอศรีสัชนาลัย
3. องค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอศรีสัชนาลัย 7 แห่ง
4. เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
5. วิทยุชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย

การติดตามประเมินผล
วิธีประเมินผล เครื่องมือประเมินผล เกณฑ์การประเมินผล ช่วงเวลาประเมินผล
สอบถามความพึงพอใจนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน แบบสอบถาม นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีขึ้นไป มีนาคม 2553 และ
ตุลาคม 2553

ประโยชน์ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รับทราบข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศของโรงเรียนเป็นอย่างดี
2 . ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนรับทราบข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศของโรงเรียนเป็นอย่างดี

โครงการอื่นที่สัมพันธ์กับโครงการนี้
1. โครงการทุกโครงการของโรงเรียน


ลงชื่อ....................................................ผู้เสนอโครงการ ลงชื่อ...............................................ผู้เห็นชอบ
(นางสาวระวีวรรณ อินทรประพันธ์) (นางราตรี สุวรรณประสิทธิ์)
หัวหน้าโครงการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป

ลงชื่อ...............................................ผู้เสนออนุมัติ ( ) อนุมัติ ( ) ไม่อนุมัติ
(นางนิ่มนวล น้อยวงศ์) ( ) อื่น ๆ ...............................................
หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ ลงชื่อ............................................... (นายวิทยา ทองอยู่)
ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชลียง
………../……………../…………..

ลงชื่อ............................................... (นายเกตุ วงศ์จันทรมณี)
ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเมืองเชลียง
………../……………../…………..









โครงการพัฒนางานบุคลากร

รายละเอียดกิจกรรม/โครงการ
ลักษณะกิจกรรม/โครงการ ( / ) ต่อเนื่อง ( ) ใหม่
มาตรฐาน [ ] ด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
มาตรฐาน [ ] ด้านการเรียนการสอน มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
มาตรฐาน [ / ] ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 12 ตัวบ่งชี้ที่ 12.4
มาตรฐาน [ ] ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานที่..............ตัวบ่งชี้ที่..............
สนองกลยุทธ์กระทรวง ข้อที่................................ สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 6
สนองกลยุทธ์ สพท. สท.2 ข้อที่ 6 สนองกลยุทธ์โรงเรียน ข้อที่ 6

ที่มา ความสำคัญ หลักการและเหตุผล
กลุ่มบริหารงานบุคคลเป็นกลุ่มงานหนึ่งในโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียนเมืองเชลียง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการแนะนำ เผยแพร่ และดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ จัดทำแผนงานและแผนอัตรากำลังของบุคลากรในสถานศึกษา จัดทำทะเบียนประวัติ ดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ดำเนินการงานตรวจสอบภายใน งานวินัยและกฎหมาย ควบคุม จัดทำสถิติ รายงานเกี่ยวกับการลงเวลาปฏิบัติราชการ ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกแก่บุคลากร เช่น การขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ การขอแก้ไขทะเบียนประวัติ การออกหนังสือรับรอง การขอเปลี่ยนตำแหน่ง การขอมีและเลื่อนตำแหน่งวิทยฐานะ การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญและเงินทดแทน มีข้อมูลสารสนเทศด้านบุคลากรเพื่อการพัฒนาและการสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ มีระบบการประเมิน การนิเทศการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพและจัดหาสวัสดิการที่เป็นธรรมอย่างทั่วถึง

วัตถุประสงค์
1. บุคลากรในโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่
2 .จัดทำทะเบียนประวัติและข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียน
3 .สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและสร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
1.1. บุคลากรร้อยละ 80 ขึ้นไปได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่
1.2. บุคลากรร้อยละ 80 ขึ้นไปมีทะเบียนประวัติและข้อมูลสารสนเทศในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
1.3 บุคลากรร้อยละ 80 ขึ้นไปมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและมีแรงจูงใจในการทำงาน
2 ด้านคุณภาพ
2.1 บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 โรงเรียนมีทะเบียนประวัติและข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
2.3 บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและมีแรงจูงใจในการทำงาน

วิธีดำเนินการ
กิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ กันยายน 2552 นางสุพัตรา จั่นจีน
2. ประชุม/วางแผนดำเนินโครงการ กันยายน 2552 และกรรมการ
3. ดำเนินการตามโครงการ ต.ค.52-ก.ย. 53 35,000 กลุ่มบริหารงาน
4. ประเมินผล สรุปงาน รายงานผู้เกี่ยวข้อง ตุลาคม 2553 บุคคล



ทรัพยากรที่ใช้
- เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ราคาประมาณ 20,000 บาท
- หมึกพิมพ์ กระดาษเอ 4 สี แฟ้มใส่เอกสาร กล่องใส่เอกสาร แผ่น CD/DVD
ปากกาเป็นของขวัญวันเกิดบุคลากร และวัสดุอื่นๆ 15,000 บาท

งบประมาณ จำนวน 35,000 บาท
รายการ เงินอุดหนุน เงินงบประมาณ เงินอื่น ๆ รวมเป็นเงิน
ค่าวัสดุ 15,000 15,000
ค่าใช้สอย
ค่าครุภัณฑ์ 20,000 20,000
รวมเป็นเงิน 35,000 35,000






ผู้รับผิดชอบโครงการ / ผู้เกี่ยวข้อง
บทบาท / หน้าที่ รายละเอียดบทบาท ชื่อผู้เกี่ยวข้อง
อำนวยการโครงการ 1. อำนวยความสะดวกในการเสนอโครงการ
2. ให้ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการปฏิบัติงาน
3. ช่วยแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหา - ผู้อำนวยการโรงเรียน
- รองผู้อำนวยการโรงเรียน
- หัวหน้ากลุ่มบริหาร 5 กลุ่ม
-หัวหน้ากลุ่มสาระฯทุกกลุ่มสาระ

ผู้ดำเนินกิจกรรม 1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ประชุม/วางแผนดำเนินโครงการ
3. ดำเนินการตามโครงการ
4. ประเมินผล สรุปงาน รายงานผู้เกี่ยวข้อง - นางสุพัตรา จั่นจีน
- นางสาววันเพ็ญ อ่อนดี
- นางสาวพรพักตร์ นนทธิ
- หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล
ผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการประสานงาน ให้คำปรึกษา ให้ข้อมูล แนะนำ ร่วมใช้งานและร่วมดำเนินการ - กลุ่มบริหารวิชาการ
- กลุ่มบริหารงบประมาณ
- กลุ่มบริหารทั่วไป

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. กลุ่มบริหารวิชาการ
2. กลุ่มบริหารงบประมาณ
3. กลุ่มบริหารทั่วไป

การติดตามประเมินผล
วิธีประเมินผล เครื่องมือประเมินผล เกณฑ์การประเมินผล ช่วงเวลาประเมินผล
- รายงานภาระงานขั้นต่ำ - แบบรายงานภาระงานขั้นต่ำ - บุคลากรมากกว่าร้อยละ 90ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก มีนาคม 2553 และ
กันยายน 2553
- บันทึกทะเบียนประวัติและข้อมูลสารสนเทศของบุคลากร - แบบกรอกทะเบียนประวัติ (ก.พ. 7) และข้อมูลในคอมพิวเตอร์ - บุคลากรมากกว่าร้อยละ 90 มีข้อมูลในเอกสารและในคอมพิวเตอร์ถูกต้อง เมษายน 2553 และ
ตุลาคม 2553
- แจกปากกาครูในวันคล้ายวันเกิดและทำประกันชิวิตกลุ่มให้ครูทุกคนฟรี - สังเกต ซักถาม
ความพึงพอใจ - บุคลากรมากกว่าร้อยละ 90 มีความพึงพอใจ มีกำลังใจในการปฏิบัติงาน ตลอดปีงบประมาณ 2553



ประโยชน์ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
2 .โรงเรียนมีทะเบียนประวัติและข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
3. บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและมีแรงจูงใจในการทำงาน

โครงการอื่นที่สัมพันธ์กับโครงการนี้
1......................................................................................................................................................
2......................................................................................................................................................

ลงชื่อ....................................................ผู้เสนอโครงการ ลงชื่อ...............................................ผู้เห็นชอบ
(นางสุพัตรา จั่นจีน) (นางราตรี สุวรรณประสิทธิ์)
หัวหน้าโครงการพัฒนางานบุคลากร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล

ลงชื่อ...............................................ผู้เสนออนุมัติ ( ) อนุมัติ ( ) ไม่อนุมัติ
(นางนิ่มนวล น้อยวงศ์) ( ) อื่น ๆ ...............................................
หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ ลงชื่อ............................................... (นายวิทยา ทองอยู่)
ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชลียง
………../……………../…………..

ลงชื่อ............................................... (นายเกตุ วงศ์จันทรมณี)
ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเมืองเชลียง
………../……………../…………..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น